เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [3. นิกเขปกัณฑ์] ทุกนิกเขปะ ปรามาสโคจฉกะ
รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าวิปปยุตจากนิวรณ์แต่เป็น
อารมณ์ของนิวรณ์
[1179] สภาวธรรมที่วิปปยุตจากนิวรณ์และไม่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์
เป็นไฉน
มรรค ผลของมรรคที่ไม่นับเนื่องในวัฏฏทุกข์ และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าวิปปยุตจากนิวรณ์และไม่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์
นีวรณโคจฉกะ จบ

9. ปรามาสโคจฉกะ
1. ปรามาสทุกะ
[1180] สภาวธรรมที่เป็นปรามาส เป็นไฉน
คือ ทิฏฐิปรามาส
[1181] ทิฏฐิปรามาส เป็นไฉน
ความเห็นว่า โลกเที่ยง โลกไม่เที่ยง โลกมีที่สุด โลกไม่มีที่สุด ชีวะกับสรีระ
เป็นอย่างเดียวกัน ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีก
หลังจากตายแล้ว ตถาคตไม่เกิดอีก หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก
หลังจากตายแล้ว ตถาคตเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่ ดังนี้ ทิฏฐิ ความ
เห็นผิด ป่าชัฏคือทิฏฐิ กันดารคือทิฏฐิ ความเห็นเป็นข้าศึกต่อสัมมาทิฏฐิ ความ
ผันแปรแห่งทิฏฐิ สังโยชน์คือทิฏฐิ ความยึดถือ ความยึดมั่น ความตั้งมั่น ความถือ
ผิด ทางชั่ว ทางผิด ภาวะที่ผิด ลัทธิเป็นบ่อเกิดแห่งความพินาศ ความยึดถือโดย
วิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่าทิฏฐิปรามาส มิจฉาทิฏฐิแม้ทั้งหมดชื่อว่า
ทิฏฐิปรามาส
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นปรามาส
[1182] สภาวธรรมที่ไม่เป็นปรามาส เป็นไฉน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 34 หน้า :301 }